มองขาด! “สื่อญี่ปุ่น” เจาะลึกก่อนเปิดบ้านคัดบอลโลกกับ “ไทย” 28 มี.ค. นี้

ในเกมเปิดบ้านรับไทย ต้องชนะเท่านั้น ประเด็นคือจะใช้งาน “ตัวเก๋าที่กลับมาติด” ได้อย่างไร?
คาดว่าในเกมเจอไทย ญี่ปุ่นจะได้ครองบอลในแดนไทยได้นาน ซึ่งในเงื่อนไขแบบนี้แม้ไม่ใช่เกมในบ้านก็ต้องเก็บ 3 แต้ม ส่วนในแง่ของทีมไทยนั้น ถ้าคาดไม่ผิดไทยคงโต้ด้วยบอลยาวจังหวะเดียวเป็น counter attack แต่ที่แน่ๆก็คือญี่ปุ่นต้องเจาะการรับแน่นๆของไทยให้ได้

ในมุมมองดังที่กล่าวมา แทนที่จะใช้มิดฟิลด์คู่กลาง 2 คนเป็นมิดฟิลด์ตัวรับ ก็สามารถจะส่งนักเตะอย่าง ทากาฮากิ (มิดฟิลด์วัย 30 ปี สูง 183 ซม. สังกัด เอฟซี โตเกียว และเคยเล่นให้ เวสเทิร์น ซิดนี่ย์ ชุดแชมป์ ACL เมื่อไม่กี่ปีก่อน) มาเป็นหนึ่งในมิดฟิลด์ตัวกลาง หรือไม่ก็เปลี่ยน formation โดยส่ง 2 ใน 4 ในบรรดา คากาวะ, สึโยชิ, ทากาฮากิ และ คุราตะ มาเป็นมิดฟิลด์ที่เล่นบทรุกแบบดุดัน เพื่อเป็นตัวริเริ่มปั้นเกมรุกจากแดนกลาง
แน่นอนว่ามีความเป็นไปได้ที่จะใช้คากาวะและคิโยตาเกะลงพร้อมกัน แต่ก็สามารถใช้ตัวที่อาจไม่ได้ลงในนัดเจอ UAE ซึ่งร่างกายสดๆก็ได้ เพราะมีเวลาพักแค่ 3 วันจากนัดเจอ UAE

ในแง่ของนักเตะหน้าใหม่อย่าง ชู คุราตะ (28 ปี ตัวหน้าต่ำของกัมบะ โอซาก้า) นั้น ถูกมองว่ามีหน้าที่เร่งสปีดเกมในขณะที่ตัวเองไล่บอล ซึ่งในทีมกัมบะนั้นเขายืนเป็นหน้าต่ำคนเดียวใน formation 4-3-1-2 ซึ่งเขาจะเคลื่อนที่แนวกว้างระหว่างคู่หน้า 2 คน มากกว่าที่จะเล่นบทบาทตามตำรับของพวกหมายเลข 10 ที่เน้นการเจาะแนวลึกอย่างที่ คากาวะ และ คิโยตาเกะ ถนัด
คุราตะเคยบอกว่า “ผมอยากเป็นตัวเปลี่ยนเกมให้ทีม” เป็นตัวเลือกในการเป็นตัวโต้กลับ

 กัปตัน ฮาเซเบะ เป็นตัวหลักที่สำคัญทั้งในแง่พละกำลังและศูนย์รวมจิตใจในทีมก็จริง แต่โค้ชฮาลิลฮอดซิช ควรจะเลือกมิดฟิลด์คู่กลางโดยดูคู่แข่งเป็นนัดๆไป เหมือนที่ตอนเคยคุมทีมอัลจีเรียในบอลโลก 2014 น่าคิดว่าการเลือกนักเตะ “ตัวเก๋าที่กลับมาติดใหม่” อย่าง คอนโนะ (33 ปี กัมบะ), ทากาฮากิ และ คุราตะ มาติดชุดนี้ น่าจะใช้งานความเก๋าจากตัวเหล่านี้ในการเก็บชัยชนะทั้งสองนัดจาก UAE และ ไทย
คอนโนะ มิดฟิลด์ตัวรับจอมเก๋าที่หลุดทีมชาติมานาน เมื่อปีที่กัมบะเล่น ACL เจอบุรีรัมย์ 3 นัดแรกมีอาการบาดเจ็บ กัมบะผลงานห่วย แต่พอแกกลับมาในนัดเยือนบุรีรัมย์เท่านั้น เล่นดีเป็นคนละทีมเลย เล่นทื่อๆแต่ทรงประสิทธิภาพ